วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่ 11 เรื่อง ลักษณะงานของบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์

บุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เรียกว่าบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้หรือยูสเซอร์ (User) แบ่งตามลักษณะงานได้ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analysis and Designer) ได้แก่ วิศวกรระบบ เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล เป็นผู้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
2. เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) คือ เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม เป็นผู้ทำการพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม
3. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) ได้แก่ผู้ดำเนินการกับเครื่องและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อทำการบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวลผล
4. เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) ทำการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์
5. ผู้บริการศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่บริหารงานในหน่วยประมวลผลข้อมูลเป็นต้น

แบบฝึกหัดที่ 11
เรื่อง ลักษณะงานของบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
ชื่อ-สกุล………………………………………………..เลขที่…..ชั้นมัธยมศึกษาปีที่……….
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.วิศวกรระบบ เป็นบุคลากรคอมพิวเตอร์ในด้านใด
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. Programmer มีหน้าที่อย่างไร
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. Data Entry Operator กับ Computer Operator มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ใบความรู้ที่ 10 เรื่อง ระบบสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบด้านระบบสื่อสารข้อมูล ( Data Communication ) หมายถึงระบบสื่อสารและอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปถึงเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ การสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภท คือ

1. การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ โดยใช้เทอร์มินัลส่งและรับสารสนเทศผ่านสารโทรศัพท์ ใช้กันมากในธุรกิจการเงิน การธนาคาร และงานด้านพัสดุ

2. คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ใช้ในกรณีที่ต้องการฐานข้อมูลหรือส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างศูนย์คอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกศูนย์คอมพิวเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์

3. การรับและส่งผ่านสารสนเทศ โดยมีคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษทำหน้าที่เป็นสวิตซ์รับและส่งสารสนเทศตามจุดหมายปลายทางที่กำหนด ทำให้สามารถบริการสารสนเทศจำนวนมากในเวลาจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การแบ่งเวลาเครื่อง วิธีใช้เป็นการสื่อสารข้อมูลระดับสูง มีความซับซ้อนด้านเทคนิควิธีโดยเฉพาะระบบควบคุมศักยภาพของระบบนี้ได้แก่ ติดต่อสื่อสารสนเทศกับผู้ใช้ทางไกลตอบรับทันทีที่ผู้ใช้ปลายทางร้องขอบริการผู้ใช้หลายคนได้ในเวลาเดียวกันอนุญาตให้ผู้ใช้ปลายทางใช้โปรแกรมต่างกันได้

การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในรูปแบบของสัญญาณแล้วแพร่กระจ่ายผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. อุปกรณ์การแสดงสารสนเทศ ได้แก่ จอภาพคอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล ชนิดต่าง ๆ เครื่องพิมพ์ และหน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
2. อุปกรณ์ส่งผ่านสารสนเทศ ได้แก่ อุปกรณ์ประเภทสาย เช่น สารเคเบิล สาย Coaxial สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง เป็นต้น
3. อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ได้แก่ โมเด็ม อุปกรณ์ประเภท Line Driven และ Multiplexes เป็นต้น

แบบฝึกหัดที่ 10
เรื่อง ระบบสื่อสารข้อมูล
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. ประเภทของระบบสื่อสารข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
2. จงอธิบายกรณีสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
3. ระบบสื่อสารข้อมูลประเภทใดนิยมใช้กับด้านการเงิน การธนาคาร
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
4. จงบอกองค์ประกอบการสื่อสารข้อมูลทั้ง 3 ประการมีอะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

ใบความรู้ที่ 9 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการทำงานด้านคอมพิวเตอร์

ระเบียบปฏิบัติและกระบวนงานเป็นการกำหนดเกณฑ์ขั้นพื้นฐานให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้ถือปฏิบัติร่วมกันเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ ลักษณะและความสำคัญของระเบียบปฏิบัติการและกระบวนงานมีดังนี้

1. ระเบียบปฏิบัติ
เป็นเครื่องมือสำหรับกำกับให้ผู้ที่มีพื้นฐานต่างกัน มีความรู้ ความเข้าใจ และความสำนึกในความถูกต้องพอเหมาะพอควรต่างกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยมีความขัดแย้งกันน้อยที่สุด เป็นเครื่องมือสำหรับให้ฝ่ายบริการสามารถดูแลให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นไม่เกิดความเสียหายหรือสูญเสีย หรือถ้าเกิดก็จะเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งจำแนกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.1 ระเบียบในด้านสถานที่ติดตั้งคอมพิวเตอร์ เป็นระเบียบที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติในห้องที่ติดตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน ในหน่วยงานที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีห้องพิเศษที่ปรับอากาศและมียกพื้นพิเศษนั้น มักจะห้ามนำเครื่องดื่มและอาหารเข้าไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันแมลง จิ้งจก และหนูที่จะเข้าไปกินอาหาร
1.2 ระเบียบเกี่ยวกับการเข้าไปในห้องคอมพิวเตอร์ ก็เป็นเรื่องจำเป็น บางแห่งนั้นใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลที่เป็นความลับ การปล่อยให้ใครต่อใครเดินเพ่นพ่านผ่านเข้าไปในห้องย่อมไม่ปลอดภัยต่อข้อมูล วิธีกันก็คือปิดประตูและใช้ลูกบิด หรือกุญแจพิเศษสำหรับเปิดประตูและทางที่ดีก็กำหนดไว้เป็นระเบียบว่าใครมีหน้าที่เข้าไปในห้องที่ตั้งเครื่องหรือที่เก็บข้อมูล
1.3 ระเบียบด้านการจัดหา การติดตั้ง และการสำเนาซอฟต์แวร์ เมื่อซื้อซอฟต์แวร์มาแล้ว ควรนำไปตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์ ดำเนินการสำเนาซอฟต์แวร์นั้นเพื่อนำแผ่นที่เป็นชุดสำเนาไปใช้
1.4 ระเบียบด้านการดูแลซ่อมบำรุง เป็นเรื่องจำเป็นต้องมีขั้นตอนและวิธีการที่รัดกุม ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้ใช้ดูกันเอง ย้ายเครื่องพิมพ์เครื่องนี้ไปไว้ที่โน่นที่นี่
1.5 ระเบียบด้านการบันทึก การใช้ การปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการเก็บรักษาและทำลายแฟ้มข้อมูลก็เป็นเครื่องที่จะต้องจัดทำขึ้นอย่างละเอียดครอบครอบ เพราะข้อมูลนั้นเป็นทรัพยากรที่สำคัญของหน่วยงาน
1.6 ระเบียบด้านการส่งเอกสารที่พิมพ์จากคอมพิวเตอร์ก็ควรจะมีไว้ เพื่อควบคุมการพิมพ์และเพื่อให้แน่ใจว่าได้จัดส่งเอกสารนั้น ๆ ไปถึงมือผู้ใช้ได้ครบถ้วน

2. คู่มือ
คือมือมีความสำคัญมากต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเราควรตรวจตราว่าการจัดซื้อหาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ของส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์และปุ่มต่าง ๆ มีการอธิบายการเชื่อมต่อสายเข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ และอาจมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างง่ายไว้ด้วย
2.1 คู่มือฮาร์ดแวร์ ส่วนมากเป็นคู่มือด้านเทคนิคที่อธิบายหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์และปุ่มต่าง ๆ อธิบายการเชื่อมต่อสารเข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ และอาจมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างง่ายไว้ด้วย
2.2 คู่มือซอฟต์แวร์ มีสองประเภทใหญ่ ๆ ประเภทแรกคือ Operation Manual หรือคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานคุมเครื่อง ประเภทที่สองคือ User Manual หรือคู่มือผู้ใช้ ซึ่งอธิบายวิธีการใช้ซอฟต์แวร์ในแบบง่าย ๆ ว่าจะเริ่มใช้อย่างไร

3. มาตรฐาน
การใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐนั้นยังมีปัญหาและอุปสรรคในด้านมาตรฐานเกือบทุกเรื่อง ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับด้านคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ดังนี้
3.1 มาตรฐานรหัสภาษาไทย ที่เรียกว่า สมอ. และแทนมาตรฐานแป้นพิมพ์โดยรหัส สมอ. เป็นรหัสที่กำหนดวิธีใช้ตัวเลข 0 กับ 1 สำหรับแทนตัวอักษรไทยในระบบคอมพิวเตอร์ มาตรฐานแป้นพิมพ์เป็นมาตรฐานที่กำหนดตำแหน่งของตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตลอดจนปุ่มฟังก์ชั่นต่าง ๆ บนแป้นพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานเป็นไปในแบบเดียวกันไม่มีปัญหาในการพิมพ์
3.2 มาตรฐานด้านรหัส คำ และชื่อต่าง ๆ จะต้องมีหน่วยงานกลางเป็นผู้กำหนด เช่น ราชบัณฑิตยสถานต้องประกาศให้ใช้คำว่า “โลกาภิวัตน์” เป็นต้น
3.3 มาตรฐานด้านวิธีการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในด้านการวิเคราะห์ระบบงานและการออกแบบระบบงาน ควรเน้นให้เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เพราะสิ่งที่เป็นงานวิทยาศาสตร์นั้นตรวจสอบได้ง่ายว่าถูกต้องหรือผิดพลาดประการใด

แบบฝึกหัดที่ 9
เรื่อง ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการทำงานด้านคอมพิวเตอร์
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. จงบอกระเบียบการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
2. คู่มือการใช้งานมีความสำคัญอย่างไร
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
3. รหัสมาตรฐานภาษาไทยคือรหัสใด
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
4. มาตรฐานการทำงานด้านคอมพิวเตอร์มีกี่อย่างอะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

ใบความรู้ที่ 8 เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ หรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือก็สามารถสร้างสารสนเทศที่ดีได้
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความสัมพันธ์กัน (Relevant)
2. มีความทันสมัย (Timely)
3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate)
4. มีความกระชับรัดกุม (Concise)
5. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (Complete)
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี (Characteristics of Information)
สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง
นอกจากนั้นสารสนเทศมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากสินค้าประเภทอื่น ๆ 4 ประการคือ ใช้ไม่หมด ไม่สามารถ ถ่ายโอนได้ แบ่งแยกไม่ได้ และสะสมเพิ่มพูนได้ หรืออาจสรุปได้ว่าสารสนเทศ ที่ดีต้องมีคุณลักษณะครบทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านเวลา ( ทันเวลา และทันสมัย )
ด้านเนื้อหา ( ถูกต้อง สมบูรณ์ ยึดหยุ่น น่าเชื่อถือ ตรงกับ ความต้องการ และตรวจสอบได้ )
ด้านรูปแบบ ( ชัดเจน กะทัดรัด ง่าย รูปแบบการนำเสนอ ประหยัด แปลก )
ด้าน กระบวนการ ( เข้าถึงได้ และปลอดภัย )

แบบฝึกหัดที่ 8
เรื่อง คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
คำสั่ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
3. สรุปได้ว่าสารสนเทศที่ดีต้องมีคุณลักษณะครบกี่ด้าน อะไรบ้าง จงอธิบาย
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………

ใบความรู้ที่ 7 การสร้างระบบงาน

1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้
ชาวสวนผักพบปัญหาว่า ผักน้ำหนักไม่ค่อยดี คือ เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักแล้วเบามาก ซึ่งเขาปลูกผักทั้งหมด 5 ชนิด ซึ่งเขาเคยได้ทดลองซื้อปุ๋ยจากบริษัทต่าง ๆ มาใช้ แต่ก็ยังได้ผลไม่เต็มที่และมีราคาแพง ดังนั้นเขาจึงศึกษางานวิจัยพบว่าเขาสามารถผลิตปุ๋ยน้ำธรรมชาติใช้เองได้ ซึ่งมีสูตรการทำอยู่ทั้งหมด 5 สูตร
ปัญหา คือ ปุ๋ยสูตรใดดีที่สุด เพราะโดยธรรมชาติแล้วผักแต่ละประเภทเจริญเติบโตไม่เท่ากัน
ข้อมูล คือ น้ำหนักของผักทั้ง 5 ชนิดที่ชั่งใด

2. กำหนดรายละเอียดความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน
ต้องการทราบว่าปุ๋ยทั้ง 5 สูตร สูตรใดให้น้ำหนักเฉลี่ยของผักทั้ง 5 ชนิดสูงที่สุด

3. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทำงานหรือออกแบบโปรแกรม
ขั้นตอนเพื่อหาคำตอบ
1. แบ่งผักทั้ง 5 ชนิดออกเป็น 5 แปรง คือ แปรงละ 5 ชนิด
2. ให้ปุ๋ยแต่ละแปรงต่างสูตรกันในระยะเวลาเท่า ๆ กัน คือ 2 เดือน
3. เมื่อครบกำหนด ให้นำผักจากแต่ละแปรงมาชั่งน้ำหนักทั้ง 5 ชนิด ๆละเท่ากัน
เช่น 1 ต้นเท่ากัน
4. กลุ่มใดมีน้ำนักมากที่สุด ถือว่าปุ๋ยสูตรนั้นดีที่สุด

4. เขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมผู้เขียนจะต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เพราะต้องใช้ภาษาของการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมแต่ละอย่างจะใช้ภาษาไม่เหมือนกัน ตัวอย่างนี้คือการเขียนด้วยโปรแกรม BASIC programming language

10 CSL
20 PRINT “<< โปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยของน้ำหนักผัก >>”
30 ZUMW = 0
40 FOR N = 1 TO 5
50 INPUT “น้ำหนักผักชนิดที่ :”;N,” = ”,W
60 ZUMW = ZUMW + W
70 NEXT N
80 AV = ZUMW / 5
90 PRINT “น้ำหนักผักโดยเฉลี่ยของกลุ่มนี้ = ”; AV
100 PRINT “จบการทำงาน”

5. ทดสอบโปรแกรมและหาจุดบกพร่อง

<< โปรแกรมคำนวณค่าเฉลี่ยของน้ำหนักผัก>>
น้ำหนักผักชนิดที่ : 1 = 145.21
น้ำหนักผักชนิดที่ : 2 = 144.90 น้ำหนักที่ป้อนเข้าสู่การประมวลผล
น้ำหนักผักชนิดที่ : 3 = 146.15
น้ำหนักผักชนิดที่ : 4 = 143.95
น้ำหนักผักชนิดที่ : 5 = 148.30
น้ำหนักผักโดยเฉลี่ยของกลุ่มนี้ = 145.702
จบการทำงาน

6. นำไปใช้งานจริง เมื่อทดสอบโปรแกรมจนแน่ใจว่าถูกต้องแล้ว เราก็จะนำโปรแกรมไปรวมทั้งระบบงานที่ได้ออกแบบขึ้นไปใช้งานจริง

7. บำรุงรักษา ติดตามผล และแก้ไขปรังปรุง สำหรับระบบงานที่ต้องนำไปปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องเราจะต้องคอยบำรุงรักษาโปรแกรมรวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานได้ตลอดไป และอาจต้องทำการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ

ใบงาน เรื่อง การสร้างระบบ กลุ่มที่…………..ไม่ต้องทำ
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................
ชื่อ-สกุล.....................................................................................เลขที่..............ชั้น..................

คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนสร้างระบบงานโดยใช้คอมพิวเตอร์
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่ 6 ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบ ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง นอกจากนี้ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า การวิเคราะห์หาวิธีแก้ปัญหาต้องพอเหมาะพอดี มีการจัดหาระบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ไม่เกินความจำเป็น

ดังนั้น จึงต้องมีการจัดขั้นตอนและหลักการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมซึ่งโดยทั่วไปเราอาจไม่ได้สร้างระบบงานใหม่ แต่พัฒนาระบบงานเก่าให้เป็นระบบงานสารสนเทศที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า “การพัฒนาระบบงาน” มากกว่าคำว่า การสร้างงาน ซึ่งตามหลักวิชาว่าด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงานดังนี้

ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำรวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้
2. กำหนดรายละเอียดความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน
3. ออกแบบโปรแกรม
4. เขียนชุดคำสั่ง
5. ทดสอบโปรแกรม
6. นำไปใช้งานจริง
7. บำรุงรักษา ติดตามผล และแก้ไขปรับปรุง

จะเห็นว่าการพัฒนาระบบงานนั้น จำเป็นต้องรู้ขั้นตอนวิธีทำงานของระบบงานเดิมและกำหนดวิธีการทำงานในระบบงานที่จะทำใหม่ให้ละเอียดเสียก่อน จากนั้นจึงเป็นการหาวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งจะต้องมีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงาน

ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์
1. วิเคราะห์ปัญหาและระบบงานที่จะทำ รวมถึงรายละเอียดข้อมูล
2. กำหนดรายละเอียดความต้องการข้องผู้ใช้ระบบงาน
3. ออกแบบขั้นตอนวิธีของการทำงาน
4. ตรวจสอบขั้นตอนวิธีของการทำงานให้แน่ใจว่าถูกต้อง
5. นำไปใช้งานจริง
6. บำรุงรักษาระบบ ติดตามผลและแก้ไขปรับปรุง

แบบฝึกหัด
เรื่อง ขั้นตอนการพัฒนาระบบ
คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. จงบอกขั้นตอนการพัฒนาระบบงานด้วยคอมพิวเตอร์
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
2. จงบอกขั้นตอนการพัฒนาระบบงานโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่ 5 ระบบงานสารสนเทศ

การทำงานใด ๆ ให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จะต้องมีการวางแผนและออกแบบระบบการทำงานได้ดีที่สุด เพื่อลดปัญหาความผิดพลาดและความล่าช้าของการปฏิบัติงาน ระบบการทำงานโดยทั่วไปหมายถึงกระบวนการทำงานที่ประกอบด้วย คน ข้อมูล และเครื่องจักร ที่จำเป็นในการทำงานนั้น ระหว่างองค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้จะต้องมี การสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้การทำงานสอดคล้องประสานกันไปในทิศทางที่ต้องการ

การสื่อสารระหว่างคนโดยทั่วไปก็คือการพูด การสั่งงานและรายงานก็ทำด้วยคำพูดหรือด้วยเอกสาร ส่วนการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรนั้นคืออะไร ตัวอย่างเช่น เราสื่อสารกับรถยนต์ด้วยพวงมาลัยเพื่อสั่งให้เลี้ยวเป็นต้น ข้อมูลที่เราใช้ในการตัดสินใจสั่งก็คือถนนหนทางหรือสิ่งที่เรามองเห็น รวมทั้งความต้องการของเรา สมองของเราทำหน้าที่แปรความหมายข้อมูลมากมายที่เห็น เช่น ถนน ทุ่งนา ท้องฟ้า ต้นไม้ คน บ้าน รถ ฯลฯ ที่ปรากฏตามเส้นทางให้เป็นสารสนเทศ คือเส้นทางที่เราไปได้และต้องการจะไป สารสนเทศเรื่องนี้จำเป็นต้องใช้เพื่อการตัดสินใจในการบังคับรถยนต์ให้ไปสู่จุดหมายที่ต้องการ การทำงานของสมองในลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุดยิ่งกว่าระบบงานสารสนเทศที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์ใด ๆ

การตัดสินใจสั่งงานหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องใช้คนกลั่นกรองและประมวลผลข้อมูลออกเป็นสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจให้ดีที่สุด ระบบงานที่ทำหน้าที่กลั่นกรองและประมวลผลข้อมูลดิบ เพื่อทำให้เป็นสารสนเทศขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องจักรก็คือระบบงานสารสนเทศ

กรณีที่เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลดิจิตอลและคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่เรียกว่า โปรแกรม ถ้าระบบงานใหญ่มาก อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมหลายโปรแกรมรวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่ที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ โปรแกรมอาจจะถูกป้อนเข้าทางแป้นพิมพ์ หรืออ่านจากแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดี ข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ก็อยู่ในรูปเดียวกับคำสั่ง โปรแกรมจะเป็นตัวประมวลผลข้อมูลตามกรรมวิธีที่เราคิดขึ้นตามจุดประสงค์ของงาน เพื่อกลั่นกรองข้อมูลออกเป็นสารสนเทศให้เราใช้ช่วยในการตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่เหมาะสม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ระบบงานสารสนเทศที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ( Information Systems) จะประกอบด้วย องค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
2. ข้อมูลและสารสนเทศ
3. โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
4. บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัด
เรื่อง ระบบงานสารสนเทศ
คำสั่ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ระบบงานสารสนเทศหมายถึงอะไร
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
2. ส่วนใดของมนุษย์ที่ทำหน้าที่เป็นระบบสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุด
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
3. เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
4. องค์ประกอบของระบบงานสารสนเทศที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
5. เพราะเหตุใดบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับระบบงาน
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่ 4 องค์ประกอบด้านสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่ง สามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

องค์ประกอบด้านสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการ และการปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือ ระดับองค์การ ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีก รวม 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้คือ

1. ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ

2. ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่าง ๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับ บุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์การส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่า จ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เป็นต้น ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมทุกโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และอำนวยเครื่องมือสำหรับทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่างานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานทุก ๆ ด้านตามแต่ผู้ใช้ต้องการ จนสามารถกล่าวได้ว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์ก็คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เกิดการใช้งาน คอมพิวเตอร์กันอย่างกว้างขวาง และทำให้คอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถขาดได้ในยุคสารสนเทศนี้

ใน องค์กรขนาดใหญ่หรืองานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานจะใช้วิธีพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์เพื่อทำซอฟต์แวร์เฉพาะงานให้ซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้ เอง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเรียกว่าซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (Tailor Made software) มีข้อดีคือมีความเหมาะสมกับงานและสามารถแก้ไขตามความต้องการได้ ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาสำหรับการพัฒนา ปัจจุบันนี้จึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไป วางจำหน่ายเป็นชุดสำเร็จรูปเรียกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Software Package)

3. ข้อมูล ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวด เร็วมีประสิทธิภาพ

4. บุคลากร บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่า ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมาก ขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความ ต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยงข้องก็เป็น เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้ งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอน การปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเครื่องมือชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเล่านี้ต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานให้ชัดเจน

แบบฝึกหัด
เรื่อง องค์ประกอบด้านสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ
คำสั่ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. องค์ประกอบด้านสื่อสารข้อมูล มีอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
2. องค์ประกอบด้านสารสนเทศ มีอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่ 3 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจิรงที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์ทำการใด ๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากขึ้น เช่น จากแฟ้มทะเบียนประวัตินักเรียนทั้งห้องซึ่งมีอยู่ 35 คน ถ้าต้องการทราบว่านักเรียนกี่คนที่เป็นนักเรียนชายและเป็นนักเรียนหญิง คอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เฉพาะเพื่อทำงานแล้วให้คำตอบตามที่ต้องการได้
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (People)
4. ข้อมูล (Data)
5. กระบวนงาน (Procedure)

1. ฮาร์ดแวร์ คือส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนต่าง ๆ ที่มีตัวตน สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ เช่น ซีพียู จอภาพ เมาส์ แป้นพิมพ์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งส่วนเหล่านี้แตะละส่วนจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ
1.1 หน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
1.3 หน่วยแสดงผลข้อมูล หรือหน่วยส่งออก

2. ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่ง (โปรแกรม) ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จัดเป็นส่วนที่เป็นนามธรรม คือ ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนที่จำเป็น ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ หมายถึง ผู้ใช้งานที่ถูกต้องจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น อาจจะได้รับอนุญาต หรือ ซื้อมา ซอฟต์แวร์นั้นเราแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์อื่น
2.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับข้อมูลเป็นต้น
2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่โปรแกรมที่ใช้ทำงานตามคำสั่ง หรือตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word หรือโปรแกรมคำนวณ เช่น Excel เป็นต้น

3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะแต่เดิมนั้น คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ใช้ยาก บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรู้ในระดับผู้ชำนาญการทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์มีหลายระดับ ในระดับพื้นฐานนั้นการใช้งานจะง่ายมาก เพราะทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้รับการออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน เรียกว่า เป็นมิตรต่อผู้ใช้ ผู้ใช้งานในระดับนี้ เมื่อได้รับการฝึกหัดเพียงเล็กน้อยก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที อย่างไรก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย ซึ่งส่วนนี้ยังมีความยุ่งยากพอสมควร นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นที่ต้องใช้บุคลากรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ๆ บุคลากรคอมพิวเตอร์ที่สำคัญได้แก่
3.1 ผู้ดูแลระบบ (System Administrator)
3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
3.3 นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
3.4 วิศวกรระบบ (System Engineer)
3.5 วิศวกรเครือข่าย (Network Engineer)
3.6 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับสูง (Super User)
3.7 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป (User)

4. ข้อมูล คือทรัพยากรอันมีค่าขององค์กร ต้องมีการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และต้องมีวิธีการให้เรียกใช้ได้อย่างทันการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดข้อมูลอย่างมีระบบ ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management Program) ดังนั้น ในการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องศึกษาระบบงานขององค์กรเป็นอย่างดี เพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

5. กระบวนงาน คือระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน กรณีที่มีผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกันหลายคน การมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดการประสารงานที่ดีขึ้น เช่น การตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล และในหน่วยงานที่มีการบริหารงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอย่างเป็นระบบ จะมีการจัดทำคู่มือต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบวิธีการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการวบรวมหนังสือคู่มือเครื่อง คู่มือซอฟต์แวร์ คู่มือการใช้เครือข่าย ฯลฯ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

แบบฝึกหัดที่ 3
เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มีทั้งหมดกี่อย่างอะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
2. ฮาร์ดแวร์แบ่งออกเป็น 3 หน่วยอะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
3. ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
5. จงบอกวิธีการซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าอย่างเป็นขึ้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................